วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความหมาย ความสำคัญ และประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

1. จงอธิบาบความหมายของ  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

 ตอบ คือ ศูนย์รวมขององค์ความรู้ทั้งที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ตลอดจนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจายทั่วทุกหนทุกแห่ง เป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้ใกล้ตัวจนถึงไกลตัวสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่รู้จบ รวมทั้งสามารถบูรณาการเข้ากับระบบการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

2. แหล่งทรัพยาการการเรียนรู้มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ตอบ มี 5 ประเภทใหญ่ คือ
1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ
4. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นประเภทวัตถุและอาคารสถานที่
5. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

3. โกฮับเจ้าเก่า เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทใด และประสบความสำเร็จในเรื่องใด

ตอบ เป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล  และประสบความสำเร็จในเรื่อง  เป็นผู้บุกเบิกก๋วยเตี๋ยวเรือ
คลองรังสิตจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ

4. ให้นิสิตหาตัวอย่าง พร้อมภาพแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ มา ประเภทละ 1 ตัวอย่าง

ตอบ  1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล
                 - ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชรบุรี
           2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
                       - ตัวอย่างเช่น ป่าไม้
          3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ
                      - สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ เทปบันทึกภาพ
                      - สื่อทางด้านวิธีการ สื่อท้องถิ่น ได้แก่ เพลงฉ่อย
                                                           สื่อกิจกรรม ได้แก่ หมากเก็บ
            4. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นประเภทวัตถุและอาคารสถานที่
                       - ตัวอย่างเช่น จิตรกรรมภาพฝาผนัง
            5. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                       - ตัวอย่างเช่น E-Learning


5. มาตราที่เกี่ยวข้องกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มีอะไรบ้าง

ตอบ  มาตรา 25 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .. 2545
ได้ระบุประเภทของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตไว้ ดังนี้
          1. ห้องสมุดประชาชน
          2. พิพิธภัณฑ์
          3. หอศิลป์
          4. สวนสัตว์
          5. สวนสาธารณะ
          6. สวนพฤกษศาสตร์
          7. อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          8. ศูนย์กีฬาและนันทนาการ


6. ประเด็นการประเมินแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีอะไรบ้าง

ตอบ  1. อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้
          2. ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก
          3. วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สาหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
  3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนาเสนอ
  3.2 วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน
  3.3 การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย
           4. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร
  4.1 ความรู้ ความเข้าใจ
  4.2 ทักษะ
  4.3 อาชีพ
  4.4 ความบันเทิง สันทนาการ


7. จงอธิบายแนวทางในการใช้แหล่งทรัพยาการเรียนรู้

ตอบ  1. ใช้เป็นสื่อหลักกับการเรียนการสอนแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริง
          2. ใช้เป็นสื่อเสริมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคนทุกเวลา มีความหมาย มีความ  หลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนาไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
          3. ใช้เป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต กล่าวคือ ให้กลุ่มผู้เรียนนั้นสามารถเข้าถึงได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่จากัดเพศ อายุ และไม่มีหลักสูตร และการประเมินผลมาบังคับ ซึ่งเรียนรู้ได้ตามความสมัครใจ ตามอัธยาศัยที่ตนเองต้องการ




8. ในมหาวิทยาลัยบูรพา มีแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้อะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมภาพประกอบ

ตอบ
1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล
- อาจารย์ประจำภาควิชาต่างๆ

2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ
- ทะเลบางแสน
 
3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ
- หอสมุด

4. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้นประเภทวัตถุและอาคารสถานที่
- พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ

5. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

- E-Learning 

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน "กะปิเคย"

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ชื่อภูมิปัญญา  กะปิเคย

ประเภทของภูมิปัญญา 
         ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคน  ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดว่าวิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจาก ความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง จัดว่าเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในตัวผู้รู้เอง จึงควรมีการสืบค้นรวบรวม ศึกษา ถ่ายทอด พัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง

สถานที่ของการเก็บข้อมูล 
            ร้านป้าหมาย

องค์ความรู้ที่ได้ 
  -                  ผู้ให้ข้อมูล คุณปรีชา ศรีปราช อายุ 60 ปี    ทำกะปิขายมานานกว่า 10 ปี


วิธีการทำกะปิเคย
1. ใช้ตัวเคย 5 กิโลกรัม ต่อเกลืออย่างดี 1 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันหมักไว้นาน 2 คืน จากนั้นนำออกผึ่งแดดพอหมาด
         2. นำมาบดในเครื่องบด  พอแหลก แล้วหมักไว้ 5 คืน (การหมักขั้นตอนนี้ต้องใส่กระสอบเพื่อให้น้ำในตัวเคยออกมา)
         3. นำไปตากแดดพอหมาดโดยบี้เป็นก้อนเล็กๆ
4. นำไปบดในเครื่องใหม่ให้เข้ากันดีจนแหลก ตีปลักเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือก้อนกลมๆ
5. หมักไว้ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาบดอีกครั้ง
         6. นำเคยที่บดแล้วมาอัดใส่ภาชนะหมัก เช่น ไห โอ่งดินเผา(ใส่โอ่งโดยอัดกะปิจนเต็มแน่น ปิดด้วยผ้าพลาสติกโรยด้วยเกลือเม็ดจนเต็มพื้นที่)
7. ตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 45 วันจึงจะนำมาปรุงอาหารได้

 

 




----------------------------------------------------------------------------------------------------------

แผนการจัดการเรียนรู้


1.สาระสำคัญ
                     เข้าใจการผลิตสิ้นค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

  2. ตัวชี้วัด
                      มาตรฐาน    4. 1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
            ป.5/1 สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ  ในชุมชน

3 .จุดประสงค์การเรียนรู้
                     1. เข้าใจขั้นตอนการผลิตและมีประสบการณ์ในการขาย
                     2. สามารถผลิตสินค้าและขายสิ้นค้าได้
                     3. ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น

4. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้


5.สาระการเรียนรู้

           สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                      การทำงานให้บรรลุเป้าหมายเป็นการทำงานตามลำดับอย่างเป็นขั้นตอนตามกระบวนการทำงาน ความขยัน  อดทน  รับผิดชอบ และซื่อสัตย์ เป็นคุณธรรมในการทำงาน

           สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
                    1.  การใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ท้องถิ่น
                    2.  การผลิตสินค้าท้องถิ่น
                    3.  การขายสินค้าท้องถิ่น

6. แนวทางบูรณาการ
           นำความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่นมาผลิตสิ้นค้าและขาย

7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
                    1. ครูแจ้งตัวชี้วัดช่วงชั้นและจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
                    2. ครูและนักเรียนเดินทางไปศึกษาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ท้องถิ่นนอกสถานที่
                    3. วิทยากรพูดเกี่ยวกับประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องการผลิตกะปิ
                    4. วิทยากรอธิบายให้นักเรียนทราบเกี่ยวกับวิธีการทำกะปิ
                    5. ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้มาผลิตกะปิที่โรงเรียนตามขั้นตอนที่ได้เรียนมา
                    6. ครูให้นักเรียนตอบคำถามในบทเรียน
                    7. ครูให้นักเรียนนำกะปิที่รวมกันผลิตไปขายยังชุมชน
                    8. ครูและนักเรียนสรุปความรู้ที่ได้จากการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผลิตสิ้นค้า และขายครูคอยให้คำปรึกษาและ สังเกตพฤติกรรม

8. กิจกรรมเสนอแนะ
                   ครูคอยให้คำปรึกษาและสังเกตพฤติกรรม

9. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้  
                  1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ท้องถิ่น ที่ผลิตกะปิ 
                  2. ตลาดและชุมชน 


การประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้าน “จักจั่น”


ของเล่นพื้นบ้านจักจั่น” 

ขั้นตอนการประดิษฐ์



1.เคี่ยวยางสนให้เหลว


2.นำแท่งไม้ไผ่ชุบที่ปลายไม้ให้ยางสนเคลือบที่ปลายไม้


3.นำเส้นเอ็นมาผูกที่ปลายแท่งไม้ไผ่ด้านที่เคลือบยางสนไว้


4.ตัดไม้ไผ่เป็นแว่น ขนาดยาว 1 นิ้ว

5.นำกระดาษสีน้ำตาลทากาวแล้วติดหุ้มด้านบนของไม้ไผ่ที่ตัดขวางเป็นแว่น


6.จากนั้นตกแต่งด้านข้างให้ให้สวยงามด้วยกระดาษสีต่าง ๆ


7.เจาะรูตรงกลางหลังกาวแห้งแล้ว


8.ร้อยเส้นเอ็นอีกด้านเข้าไปในช่องที่เจาะรูไว้แล้วนำไม้กลัดมาผูกกับเส้นเอ็น ตรงกลางเพื่อกันไม่ให้เส้นเอ็นหลุดจากไม้ไผ่ที่ตกแต่งไว้


>>  9.จะได้จักจั่นของเล่น  <<







วัสดุการผลิต



1. ไม้ไผ่เหลาเป็นแท่งเท่าไม้ตะเกียบ




2. ไม้ไผ่ตัดขวางเป็นแว่นขนาดยาว 1 นิ้ว


3. กระดาษสีน้ำตาล ตัดเป็นวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว


4. ไม้กลัดขนาดยาว 0.5 นิ้ว


5. กระดาษสีต่างๆ


6. เส้นเอ็นเบอร์30


7. ยางสนเคี่ยวให้เหลว



8. กาวลาเท็กซ์





แหล่งข้อมูล
ชื่อเว็บ : gotoknow.org
ชื่อเรื่อง : ของเล่นภูมิปัญญาไทย
URL: http://gotoknow.org/blog/chok/250967
วัน/เดือน/ปี : 11/12/2009
เป็นผลงานของ นายโชคชัย สิรินพมณี

สถานที่ผลิต
                  256/45 ม.3 ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง 21130 (บ้านของนางสาวศุภมาส ทรัพย์ชัชวาล)

วิธีการเล่น
              แกว่งไม้ให้ตัวทรงกระบอก หมุนรอบๆไม้ อย่างรวดเร็ว แล้วก็จะเกิดเสียง คล้าย แมลงจั๊กจั่น 

ลักษณะการเกิดเสียง
              เสียงเกิดขึ้นขณะเหวี่ยงกระบอกให้หมุน ทำให้เส้นเอ็นที่ปลายไม้เสียดสีกับยางสน จากนั้นเสียงก็เดินทางผ่านตัวกลางคือเส้นเอ็นมาที่กระบอก ทำให้เสียงดังขึ้น โดยเสียงที่เกิดขึ้น จะมีลักษณะคล้ายเสียงจักจั่น
วิธีการซ่อมแซม
             ในกรณีที่กระดาษขาด ให้นำกระดาษมาตัดเป็นวงกลมแล้วแปะกาวติดลงไปใหม่ให้เหมือนเดิม เช่นเดียวกันหากเส้นเอ็นขาดก็ให้ตัดเส้นเอ็นใหม่แล้วนำไปผูกกับยางสน ส่วนกรณีที่เสียงไม่ดัง ให้ดูว่าเส้นเอ็นกับยางสนนั้นมีช่องว่างอะไรไหม เพราะเสียงจะเกิดจากเส้นเอ็นที่ปลายไม้เสียดสีกับยางสน

อ้างอิง
ขวัญชนก ลีลาวณิชไชย.(ม.ป.ป.).ของเล่น 9 อย่างกับหลักการเกิดเสียง.เข้าถึงได้จาก: http://rescom.trf.or.th/display/keydefault.aspx?id_colum=1976 (วันที่สืบค้นข้อมูล 15 มิถุนายน 2556).
โชคชัย สิรินพมณี.(2552).การประดิษฐ์ของเล่นจั๊กจั่น.เข้าถึงได้จาก: http://www.gotoknow.org/posts/250967 (วันที่สืบค้นข้อมูล 15 มิถุนายน 2556).

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แนวโน้มการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

แนวโน้มการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

1.ให้นิสิตบอกวิธีการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


          การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ ข้อมูลสารสนเทศบนเครือข่ายนั้นมีมากมายมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นในการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ก็สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศได้ทั่วโลก โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ดังนี้

·      ใช้โปรแกรมค้นดูเว็บ หรือโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser)

           คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศและปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวซึ่งได้มีการจัดระบบในการให้บริการบนเว็บไซต์ซึ่งอาจจะมีการออกแบบและเขียนเว็บไซต์ดังกล่าวด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น ภาษา HTML ภาษา CSS  หรือภาษา XHTML เป็นต้น สาหรับโปรแกรมWeb Browser ที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีตและในปัจจุบัน เช่น Internet Explorer Mozilla Firefox และ Google Chrome เป็นต้น


·       ใช้โปรแกรมช่วยในการสืบค้นข้อมูล (Search Engine) 


          หรือ เสิร์ชเอนจินซึ่งเป็นโปรแกรมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและระบบเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ข้อมูลที่ต้องการค้นหา ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศได้ทั้งข้อความ รูปภาพ สื่อมัลติมิเดีย ภาพเคลื่อนไหว วีดิโอ หรือข้อมูลสารสนเทศอื่น ๆ ตัวอย่างโปรแกรมช่วยในการสืบค้นข้อมูลที่ให้บริการ ได้แก่ www.google.com เป็นต้น


2.URL คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


              URL  ย่อมาจากคำว่า   Uniform Resource Locator (URL) เป็นการระบุตำแหน่งของไฟล์ที่เข้าถึงได้บนอินเตอร์เน็ต ประเภทของทรัพยากรขึ้นกับโปรโตคอลประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตที่ใช้ การใช้โปรโตคอลของ World Wide Web หรือ Hypertext Tranfer Protocol ทรัพยากรคือเพจ HTML, ภาพ, โปรแกรมอินเตอร์เฟซ เช่น Java applet หรือไฟล์ที่ HTTP โดย URL จะเก็บชื่อของโปรโตคอลที่ต้องการ เพื่อเข้าถึงทรัพยากร ซึ่ง Domain name เป็นการระบุคอมพิวเตอร์บนอินเตอร์เน็ต และการอธิบายลำดับชั้นของตำแหน่งไฟล์ในคอมพิวเตอร์    โดยผู้ใช้สามารถระบุที่อยู่ของทรัพยากรบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า URLs (Uniform Resource Locators) ซึ่งมีส่วนประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 
              1.1 โปรโตคอล (Protocal) คือ แหล่งที่อยู่ของทรัพยากรซึ่งโปรโตคอลพื้นฐานสาหรับโปรแกรมค้นดูเว็บ คือ http
              1.2 ชื่อโดเมน (Domain name) คือ ชื่อที่ใช้เรียกเพื่อระบุลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อไปค้นหาในระบบ เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส (IP-Address) ของชื่อดังกล่าว ซึ่งมีผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้ เช่น www.buu.ac.th, www.ch3.com เป็นต้น ซึ่งชื่อโดเมนนี้จะมีการจัดประเภทของหน่วยงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นผู้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจึงจาเป็นต้องรู้ชื่อโดเมนส่วนสุดท้ายซึ่งจะมีการคั่นด้วยมหัพภาค (.) หรือจุด (Dot) ซึ่งเรียกโดเมนส่วนสุดท้ายนี้ว่า ชื่อโดเมนในระดับบนสุด (Top Level Domain : TLD)

3. หลักการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง


               ข้อมูลสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากมายมหาศาลซึ่งในการสืบค้นข้อมูลนั้นต้องใช้วิจารณญาณเพื่อการตรวจสอบและประเมินเพื่อเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดในการนาไปใช้ ดังนั้นประเด็นในการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย 3 ประเด็น วัตถุประสงค์ความต้องการในการนาข้อมูลสารสนเทศไปใช้ คุณภาพของเว็บไซต์ที่ใช้ในการเผยแพร่ และเนื้อหาที่ใช้ในการเผยแพร่ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

3.1 ประเมินวัตถุประสงค์ความต้องการในการนาข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ประกอบด้วย


1.1 ผู้ใช้ต้องวิเคราะห์ความต้องการของตนในการนาข้อมูลสารสนเทศไปใช้
1.2 ผู้ใช้แยกแยะประเด็น และเลือกหัวข้อที่ต้องการสืบค้น

3.2 พิจารณาด้านคุณภาพเว็บไซต์ที่ใช้ในการเผยแพร่ ได้แก่


2.1 ข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ใน เว็บไซต์หรือไม่
2.2 ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวนั้นเป็นสาระเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ใน การสร้าง หรือเผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
        หรือไม่
2.3 เว็บไซต์ดังกล่าวได้ให้ที่อยู่ e-mail address ในการให้ผู้อ่านติดต่อ สอบถามหรือไม่ หรือสามารถติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้        หรือไม่
2.4 เว็บไซต์ดังกล่าวสามารถเชื่อมโยง (link) ไปยังเว็บไซต์อื่นที่อ้างถึง ได้หรือไม่
2.5 เว็บไซต์ดังกล่าวมีการปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องหรือไม่
2.6 เว็บไซต์ดังกล่าวมีช่องทางให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น
2.7 เว็บไซต์ดังกล่าวมีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ ใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์
2.8 เว็บไซต์ดังกล่าวควรมีการระบุข้อความว่า เป็นเว็บไซต์ส่วนตัวหรือระบุแหล่งที่ให้การสนับสนุนในการสร้างเว็บไซต์
2.9 เว็บไซต์ดังกล่าวมีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ ใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์

3.3 พิจารณาด้านเนื้อหาข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ที่นาเสนอ ได้แก่ การใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้


3.1 ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวมีการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลหรือมีการอ้างอิง เนื้อหาที่นาเสนอบนเว็บไซต์หรือไม่
3.2 เนื้อหามีการระบุวันเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์
3.3 เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรม
3.4 เนื้อหาข้อมูลสารสนเทศระบุวันเวลาในการปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุดหรือไม่
3.5 เนื้อหาดังกล่าวในข้อมูลสารสนเทศมีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์หรือไม่
3.6 คุณภาพของเนื้อหาสาระในการเขียนเนื้อหาข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ มีความถูกต้อง ประกอบด้วย
       3.6.1 สานวนภาษาที่ใช้ในเขียนเพื่อการสื่อสารสารสนเทศบนเว็บไซต์ควรใช้ภาษาที่ถูกต้อง ถูกต้องตามหลัก                                 ไวยากรณ์ และใช้ภาษาที่เป็นทางการ สละสลวย และสุภาพ โดยไม่ใช้ภาษาปากหรือภาษาพูดที่ไม่สุภาพ
       3.6.2 ไม่ควรมีคาสะกดที่ผิดพลาดในข้อความที่เผยแพร่บนสารสนเทศเว็บไซต์
3.7 เนื้อหาสารสนเทศบนเว็บไซต์ดังกล่าวไม่มีความลาเอียงในการนำเสนอสาระ หรือการแสดงความคิดเห็น โดยควรใช้ข้อเท็จจริงในการสนับสนุนการวิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นดังกล่าว

4. Virtual Field Trip คืออะไร


             การศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง หมายถึง (Virtual Field Trip) เป็นการจาลองแบบสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงหรือสถานที่จริงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทาให้ผู้เรียนได้เห็นจริงและเข้าใจง่าย

5. จงบอกความหมายของพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง  พร้อมยกตัวอย่างด้วยการทำ Link เว็บพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงมาคนละ 1 เว็บไซต์


             พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง (Virtual  museum)  คือรูปแบบของการจัดนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ดั้งเดิมที่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้สามารถดึงดูดความสนใจให้มีผู้เข้าชมและเรียนรู้  โดยอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต  มาสร้างสื่อมัลติมีเดียหรือสื่อผสม  ให้เป็นภาพ  3  มิติ  อาจเป็นภาพนิ่งหรือเคลื่อนไหวก็ได้  ดูภาพได้ทุกทาง  อาจมีเสียง  คำบรรยายประกอบ  หรือเป็นวีดิทัศน์สั้น ๆ ให้ผู้ชมรู้สึกเสมือนอยู่ในสถานที่จริง  เป็นการประหยัดเวลา  พลังงาน  งบประมาณจากการที่ต้องไปชมสถานที่จริง  และยังชดเชยได้ในเรื่องของการดูวัตถุด้วยการหมุนวัตถุ  สามารถดูใกล้ ๆ ได้

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (ตึกลูกเต๋า)
http://www.nsm.or.th/nsm2008/vr_museum/


6.ความหมายของเทคโนโลยี AR มีประโยชน์อย่างไรในการเป็นแหล่งการทรัพยากรการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


                 เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี AR” (Augmented Reality) เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานเอาโลกในความเป็นจริงและโลกเสมือนที่สร้างขึ้นมาผสานเข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ เป็นการสร้างข้อมูลอีกข้อมูลหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบบนโลกเสมือน (virtual world) เช่น ภาพกราฟิก วิดีโอ รูปทรงสามมิติ และข้อความ ตัวอักษร ให้ผนวกซ้อนทับกับภาพในโลกจริงที่ปรากฏบนกล้อง

         เทคโนโลยี AR แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 
          1. แบบที่ใช้ภาพสัญลักษณ์ 
          2. แบบที่ใช้ระบบพิกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลบนโลกเสมือนจริง 
                แบบที่แสดงอยู่นี้เป็นแบบที่ใช้ภาพสัญลักษณ์ซึ่งในทางเทคนิคแล้วเรียกว่า “Marker” (มาร์คเกอร์) หรืออาจจะเรียกว่า “AR Code” ก็ได้ โดยใช้กล้องเว็บแคมในการรับภาพ เมื่อซอฟท์แวร์ที่เราใช้งานอยู่ประมวลผลรูปภาพเจอสัญลักษณ์ที่กาหนดไว้ก็จะแสดงข้อมูลภาพสามมิติที่ถูกระบุไว้ในโปรแกรมให้เห็น เราสามารถที่จะหมุนดูภาพที่ปรากฏได้ทุกทิศทางหรือเรียกว่าหมุนได้ 360 องศา

ประโยชน์ของเทคโนโลยี AR
1.เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.ฝึกการเรียนรู้เน้นให้ผู้ใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้นั้นมีส่วนร่วมจากการเรียนรู้ลงมือปฏิบัติจริง
3.เน้นให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้ด้วยตนเองตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
4.ทันสมัยและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น 

.              นอกจากจะสามารถสร้างความน่าสนใจในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนแล้ว สื่อเสริมการเรียนรู้ AR ยังจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจและจุดประกายให้กับผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เรียนที่สนใจด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เมื่อได้สัมผัสกับเทคโนโลยี AR พวกเขาอาจเกิดจินตนาการ นำไปคิดต่อยอด พัฒนาและสร้างสรรค์เทคโนโลยี AR สำหรับการใช้งานในด้านอื่นๆ ต่อไปได้ เนื่องจากในปัจจุบัน ในสาขาอาชีพต่างๆ ได้มีการนำเทคโนโลยี AR มาช่วยในการทำงานมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมรถยนต์ มีการใช้เทคโนโลยี AR มาสร้างภาพเครื่องยนต์แบบสามมิติสำหรับให้ผู้ใช้ได้เรียนรู้การปฏิบัติงานประกอบรถยนต์  ในด้านการแพทย์ มีการใช้เทคโนโลยี AR ในการสร้างภาพเสมือนสามมิติให้นักศึกษาแพทย์ได้ฝึกใช้เครื่องมือแพทย์รักษาหรือผ่าตัดผู้ป่วยแบบไม่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วยจริง หรือในทางธุรกิจ มีการใช้เทคโนโลยี AR ในการแสดงภาพสินค้าแบบสามมิติที่อยู่ภายในกล่องโดยที่ไม่ต้องแกะกล่อง ดังนั้น การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ สัมผัส และทดลองใช้สื่อเสริมการเรียนรู้ AR ในชั้นเรียน จะทำให้พวกเขาคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และมีความพร้อมที่เพิ่มพูนทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีประเภทนี้ เมื่อต้องเรียนในระดับสูงหรือทำงานต่อไปในอนาคต


แหล่งอ้างอิง

http://www.com5dow.com/ไขปัญหาศัพท์-it/1831-url-คืออะไร.html
https://docs.google.com/document/d/1bMEnwdh5FKKqbf8s4khOHrUFP-Z7x8p_WWoBpo1ZYjw/edit
https://docs.google.com/document/d/1bMEnwdh5FKKqbf8s4khOHrUFP-Z7x8p_WWoBpo1ZYjw/edit
http://www.nsm.or.th/nsm2009/it/index.php?option=com_content&view=article&id=44%3Aaugmented-reality-technology&catid=29%3Aother&Itemid=35&lang=th
http://secondsci.ipst.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=336:armedia&catid=19:2009-05-04-05-01-56&Itemid=34